แรงเสียดทาน

แรงเสียดทาน
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

     4.2         ป.5/1         ทดลองและอธิบายแรงเสียดทาน และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
    ว 8.1         ป.5/1         ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็น หรือเรื่อง หรือสถานการณ์ที่จะศึกษาตามที่
                                         กำหนดให้และตามความสนใจ
                      ป.5/2         วางแผนการสังเกต เสนอการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าและ
                                       คาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการสำรวจตรวจสอบ
                   ป.5/3         เลือกอุปกรณ์ที่ถูกต้องเหมาะสมในการสำรวจตรวจสอบให้ได้ข้อมูลที่
                                                         เชื่อถือได้
                   .5/4         บันทึกข้อมูลในเชิงปริมาณและคุณภาพ และตรวจสอบผลกับสิ่งที่
                                                         คาดการณ์ไว้ นำเสนอผลและข้อสรุป
                   ป.5/5         สร้างคำถามใหม่เพื่อการสำรวจตรวจสอบต่อไป
                   ป.5/6         แสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบายและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
                  ป.5/7         บันทึกและอธิบายผลการสำรวจตรวจสอบตามความเป็นจริง มีการอ้างอิง
                  ป.5/8         นำเสนอ จัดแสดงผลงาน โดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายแสดง
                                                         กระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
สาระการเรียนรู้แกนกลาง
        แรงเสียดทานเป็นแรงต้านทานการเคลื่อนที่ของวัตถุ แรงเสียดทานมีประโยชน์ เช่น
            ในการเดินต้องอาศัยแรงเสียดทาน
แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
หน่วยการเรียนรู้ที่ 9  แรงเสียดทาน
              ..............................................................................................                                                                          คำชี้แจง  :  ให้นักเรียน û  ทับตัวอักษรหน้าข้อความที่เป็นคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว                                                    
1.   แรงต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุระหว่างผิวสัมผัสของวัตถุ 2 ชิ้น เรียกว่าอะไร
      ก.   แรงโน้มถ่วง                 ข.   แรงเสียดทาน               ค.   แรงดึงดูด                      ง.   แรงผลักดัน                                        2.   แรงเสียดทาน มีทิศทางการเคลื่อนที่อย่างไร
ก.   ทิศตรงข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ                        ข.   ทิศตะวันตกกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ                                                                      ค.   ทิศตะวันออกกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ                    ง.   ทิศทางเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ
3.   ถ้าผิวสัมผัสของวัตถุทั้ง 2 ชนิด ไม่เรียบ แรงเสียดทานจะทำให้วัตถุเคลื่อนที่อย่างไร
      ก.   เคลื่อนที่ได้น้อย                                                           ข.   เคลื่อนที่ได้มาก
     ค.   เคลื่อนที่มากแล้วก็หยุด                                              ง.   เคลื่อนที่มากบ้าง น้อยบ้าง                                                4.   ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ได้น้อย จะเกิดแรงเสียดทานมาก แสดงว่าผิวสัมผัสของวัตถุเป็นอย่างไร
            ก.   เรียบ                               ข.   ไม่เรียบ                          ค.   มีขนาดเล็ก                    ง.   มีขนาดใหญ่
5.   เมื่อเราอยู่ในน้ำ จะเกิดแรงเสียดทานระหว่างตัวเรากับน้ำ ทำให้เกิดผลอย่างไร
       ก.   ออกแรงน้อยลง                                                           ข.   ออกแรงเพิ่มขึ้น
       ค.   จับสิ่งของในน้ำไม่ได้                                                 ง.   อยู่นิ่งๆ เคลื่อนที่ไม่ได้
6.   เรานำแรงเสียดทานไปใช้ประโยชน์อย่างไร
       ก.   การเล่นฟุตบอล                                                           ข.   การเล่นหมากเก็บ
       ค.   การเล่นมอญซ่อนผ้า                                                   ง.   การเล่นกระต่ายขาเดียว
7.   การกระทำใด ที่ต้องมีการเพิ่มแรงเสียดทาน
       ก.   ใช้วัสดุที่เรียบและมันทำพื้นกระดานลื่น               ข.   หยอดน้ำมันหล่อลื่นบานพับประตู
       ค.   ปูผ้ายางกันลื่นที่หน้าห้องน้ำ                                    ง.   ใช้กรรไกรที่คมตัดกระดาษ                                                          8.   การกระทำใด ที่ต้องมีการลดแรงเสียดทาน
       ก.   เพิ่มลวดลายของยางรถยนต์                                      ข.   นักกีฬาใส่เสื้อผ้าที่กระชับ
       ค.   ทำขอบขันโดยให้มีผิวขรุขระ                                   ง.   ใช้ผ้ารองตู้เย็นก่อนเคลื่อนย้าย
9.   การใช้กรรไกรที่คมตัดกระดาษ ทำให้ตัดกระดาษได้ง่าย เป็นผลจากข้อใด
        ก.   ลดความหนาแน่น                                                       ข.   เพิ่มความหนาแน่น
       ค.   ลดแรงเสียดทาน                                                          ง.   เพิ่มแรงเสียงทาน
10.   การเพิ่มแรงเสียดทานของล้อรถยนต์ ทำให้ล้อยึดเกาะถนนได้ดี ความทำอย่างไร
       ก.   ใช้น้ำราดบนล้อรถยนต์                                              ข.   หยอดน้ำมันที่ล้อรถยนต์
      ค.   ทาสีล้อรถยนต์ให้สวยงาม                                         ง.   ทำลวดลายของยางรถยนต์

                                       ..............................................................................................